
iSIAM Dental Clinic


เหล็กจัดฟันและลวด เคลื่อนฟันได้อย่างไร?
เคยสงสัยกันมั้ยคะว่า เหล็กจัดฟันและลวด เคลื่อนฟันได้อย่างไร วันนี้เราจะมาให้คำตอบกันค่า
เครื่องมือจัดฟัน หลักๆแล้วประกอบด้วยกัน 3 ส่วน คือ 1.ปุ่มเหล็กที่ติดอยู่บนฟัน หรือเรียกว่า แบร็กเก็ต เปรียบเสมือนล้อรถไฟ 2. ลวดจัดฟัน เปรียบเสมือน รางรถไฟ 3. ยางจัดฟัน มีหน้าที่ลัดไม่ให้ลวดหลุดจาก แบร็กเก็ต
โดยลวดจัดฟันจะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1. ลวดสเตนเลส มีลักษณะที่แข็งแรง บิดงอยาก และฝืด 2. ลวดนิกเกิล-ไทเทเนียม(Ni-ti) มีความนิ่ม โค้งงอได้ และคืนรูปได้เหมือนเดิม ซึ่งจะใช้ลวดชนิดนี้ในช่วงเริ่มจัดฟันในคนไข้ที่ฟันเกเยอะ
ช่วงแรกในการจัดฟัน ถ้าฟันเกมากๆ มักจะเริ่มจากใส่ลวด Ni-ti ก่อน สังเกตว่าจะเห็นลวดเหมือนงูเลื้อย โดยเมื่อลวดโค้งงอ ลวดก็จะพยายามคืนรูปให้เปนเส้นตรง ดังนั้นฟันก็จะเริ่มขยับ และเริ่มเรียงตัวกันมากขึ้น ซึ่งช่วงแรกที่จัดฟันลวดยังมีความแข็งน้อย และนิ่ม (ฟันที่เกเยอะไม่สามารถใส่ลวดที่แข็งได้) แรงจึงยังไม่เยอะที่จะเคลื่อนฟันเป็นเส้นตรงได้ ถ้าพอคนไข้มาปรับเครื่องมือทุกเดือน คุณหมอก็จะเปลี่ยนลวดที่มีความแข็งมากขึ้น ฟันก็จะเริ่มขยับเป็นเเนวเส้นตรงมากยิ่งขึ้น
จากนั้นเมื่อฟันเรียงเป็นเส้นตรงได้แล้ว คุณหมอก็จะใส่ลวดที่มีความแข็ง บิดงอยาก ซึ่งก็คือลวดสเตนเลส จากนั้นก็จะใส่ยางที่มีลักษณะเหมือนโซ่ดึงฟัน หรือเรียกว่า เชน ดังนั้นฟันก็จะเริ่มเคลื่อนไปตามแนวลวด เปรียบเทียบได้กับขบวนรถไฟที่เคลื่อนตามรางรถไฟนั่นเองค่ะ
แต่ถ้าช่วงที่ดึงฟันแล้วเครื่องมือมีการหลุดแล้วปล่อยไว้นานๆ ฟันซี่ที่เครื่องมือหลุดมักจะมีการเปลี่ยนตำแหน่ง หรือฟันหมุน ก็จะทำให้ใส่ลวดที่แข็งไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถดึงฟันต่อได้ ดังนั้นก็จะต้องย้อนกลับไปใส่ลวดที่นิ่มใหม่ก่อน เพื่อปรับฟันซี่นั้นกลับมาที่ตำแหน่งเดิม ทำให้เสียเวลาในการจัดฟันมากยิ่งขึ้นค่ะ
คนไข้สามารถเข้ามาปรึกษาจัดฟันกับคุณหมอได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่นี่เลยค่ะ https://m.me/isiamram หรือ http://m.me/isiamdental

อยากจัดฟัน แต่ไม่ถอนฟันได้มั้ยคะ?
การจัดฟันแบบไม่ถอนฟัน สามารถทำได้และไม่ได้ค่ะ ขึ้นอยู่กับการสบฟันของคนไข้ค่ะ
ต้องถอนฟัน กรณีที่ฟันยื่นมากหรือซ้อนเกมาก
ไม่ต้องถอนฟัน ในกรณีที่ฟันผิดปกติไม่มาก โดยคุณหมอจะใช้การตะไบฟัน หรือเรียกว่า Stripping / interproximal reduction (IPR) เพื่อลดขนาดฟันในการแก้ฟันเก
การตะไบฟันยังช่วยในเรื่องการแก้ปัญหาฟันหน้าที่มีขนาดไม่เท่ากันได้อีกด้วย
โดยการตะไบฟันจะทำเฉพาะบริเวณส่วนเคลือบเนื้อฟันเท่านั้น (ชั้นนอกสุดของฟัน) โดยจะกรอเพียง 0.5mm เท่านั้น
ข้อเสียก็คือ ถ้าเกิดฟันผุ อาจจะลุกลามได้เร็วกว่าปกติ ดังนั้นจึงควรดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้ดีและพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือนค่ะ
คนไข้สามารถเข้ามาปรึกษาจัดฟันกับคุณหมอได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่นี่เลยค่ะ https://m.me/isiamram หรือ http://m.me/isiamdental